Troubleshooting Hexavalent Chrome Black

วิธีการแก้ไขสีดำโครม 6 เบื้องต้น

  

วิธีการแก้ไขสีดำโครม 6 เบื้องต้น

1.ปัญหาจุ่มสีดำโครม 6 แล้วชิ้นงานมีสีรุ้ง

1.1 ค่า pH สูงเกินไป (> 2.6) ควรปรับเติม pH ให้ได้ 1.8-2.4 โดยใช้ 50% กรดซัลฟูริก

1.2 ใช้เวลาในการจุ่มสีน้อยเกินไป ควรเพิ่มเวลาในการจุ่มสีโครเม

2.ปัญหาจุ่มสีดำโครม 6 แล้วชิ้นงานเป็นดำสนิทแต่ด้าน

2.1 น้ำยาในส่วนของตัว A น้อยเกินไป ควรค่อยๆปรับเพิ่มตัว A ทีละ 0.5-1 %

2.2 ค่า pH สูงเกินไป (> 2.6) ควรปรับเติม pH ให้ได้ 1.8-2.4 โดยใช้ 50% กรดซัลฟูริก

3.ปัญหาจุ่มสีดำโครม 6 แล้วชิ้นงานเป็นสีเขียว  

3.1 น้ำยาในส่วนของตัว B น้อยเกินไป ควรค่อยๆปรับเพิ่มตัว B ทีละ 0.5-1 %

3.2 ค่า pH ต่ำเกินไป (< 1.5) ควรปรับเติม pH ให้ได้ 1.8-2.4 โดยใช้ 50% โซดาไฟ

4.ปัญหาจุ่มสีดำโครม 6 แล้วชิ้นงานเงาแต่เป็นสีน้ำตาล

4.1 ค่า pH ต่ำเกินไป (< 1.5) ควรปรับเติม pH ให้ได้ 1.8-2.4 โดยใช้ 50% โซดาไฟ

4.2 ความเข้มข้นของน้ำยาสูงเกินไป ควรเจือจางน้ำยาลง 25% แล้วปรับเติมตัว A ตัว B และ pH

5.ปัญหาจุ่มสีดำโครม 6 แล้วชิ้นงานมีเขม่าบนผิวโครเม 

5.1 ค่า pH ต่ำเกินไป (< 1.5) ควรปรับเติม pH ให้ได้ 1.8-2.4 โดยใช้ 50% โซดาไฟ

5.2 น้ำยาในส่วนของตัว A น้อยเกินไป ควรค่อยๆปรับเพิ่มตัว A ทีละ 0.5-1 %

6.ปัญหาจุ่มสีดำโครม 6 แล้วต้องเติมตัว B มากกว่าปกติ  

6.1 คลอไรด์เจือปนลงในน้ำยา ควรเช็คน้ำล้างและน้ำที่ใช้ผสมน้ำยาว่าสะอาดเพียงพอหรือไม่

6.2 ไซยาไนด์เจือปนลงในน้ำยา ควรเช็คน้ำล้างและน้ำที่ใช้ผสมน้ำยาว่าสะอาดเพียงพอหรือไม่

6.3 ทองแดงเจือปนลงในน้ำยา ควรเช็คน้ำล้างและน้ำที่ใช้ผสมน้ำยาว่าสะอาดเพียงพอหรือไม่

7.ปัญหาจุ่มสีดำโครม 6 แล้วซิ้งค์บริเวณซอกหรือไฟต่ำหลุดออกหมด 

7.1 ค่า pH ต่ำเกินไป (< 1.5) ควรปรับเติม pH ให้ได้ 1.8-2.4 โดยใช้ 50% โซดาไฟ

7.2 ค่าความเข้มข้นของน้ำยาสูงเกินไป ควรเจือจางน้ำยาลง 10% แล้วเติมน้ำ

7.3 ควาหนาของซิงค์ต่ำเกินไป ชุบงานให้ได้ความหนามากขึ้น

7.4 ไนเตรทเจือปนลงในน้ำยา ควรเช็คน้ำล้างและน้ำที่ใช้ผสมน้ำยาว่าสะอาดเพียงพอหรือไม่

7.5 จุ่มสีนานเกินไป ควรลดเวลาในการจุ่มสีโครเม

8.ปัญหาจุ่มสีดำโครม 6 แล้วมีตะกอนขาวเกิดขึ้น

8.1 คลอไรด์เจือปนลงในน้ำยา ควรเช็คน้ำล้างและน้ำที่ใช้ผสมน้ำยาว่าสะอาดเพียงพอหรือไม่

8.2 ไซยาไนด์เจือปนลงในน้ำยา ควรเช็คน้ำล้างและน้ำที่ใช้ผสมน้ำยาว่าสะอาดเพียงพอหรือไม่

วิธีการใช้

CHROMATE BLACK 80 PART A * 60 – 70 ซี.ซี./ลิตร

CHROMATE BLACK 80 PART B * 80 – 100 ซี.ซี./ลิตร

เวลาในการจุ่ม 40–120 วินาที

อุณหภูมิของน้ำยา อุณหภูมิห้อง

ค่า pH 1.6 – 2.6

*การแกว่งหรือเป่าลม ควรต้องมีการแกว่งหรือเป่าลมตลอดเวลาการทำงาน

 

หมายเหตุ

* เมื่อผสมน้ำยาใหม่ทุกครั้งหรือปรับเติมน้ำลงไปในบ่อน้ำยา ต้องใช้น้ำกลั่นหรือน้ำ DI เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาโครเมตกตะกอนและทำให้น้ำยาโครเมเสื่อมเร็ว

** ระยะเวลาการจุ่มงานนี้ ให้ใช้ที่ 60 วินาทีเป็นบรรทัดฐาน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานและอายุของน้ำยา  

เทคนิคแนะนำ : ถ้าน้ำยาผสมใหม่มักจะจุ่มแล้วไม่ค่อยดำสนิทนัก หลังผสมน้ำยาเสร็จใหม่ๆ ก่อนจุ่มงานจริงให้โยนชิ้นงานที่ชุบซิ้งค์แล้วซัก 3–5 ชิ้น แช่ลงไปในน้ำยาประมาณ 5–10 นาทีเพื่อให้เนื้อซิ้งค์ละลายออกมาอยู่ในน้ำยาจุ่มดำก่อนซักเล็กน้อย แล้วค่อยจุ่มงานจริงต่อไป

ขั้นตอนการทำงาน

1.ชิ้นงานที่ชุบซิ้งค์เรียบร้อยแล้ว ควรมีความหนามากกว่า 8 ไมครอน

2.ล้างน้ำสะอาด 2 หน

3.จุ่มกรดดินประสิวเข้มข้น 0.5% (5 ซี.ซี./ลิตร)  หรือจุ่มกรดซัลฟูริกเข้มข้น 0.25% (2.5 ซี.ซี./ลิตร) (จะช่วยยืดอายุของบ่อโครเมดีกว่า) เป็นเวลา 2–3 วินาที

4.ล้างน้ำสะอาด

5.จุ่มน้ำกลั่นเป็นเวลา 2–3 วินาที

6.จุ่มน้ำยาซิ้งค์ดำที่ผสมเรียบร้อยแล้ว เป็นเวลา 60 วินาที

7.ล้างน้ำสะอาด 2 หน

8.จุ่มน้ำกลั่นเป็นเวลา 2–3 วินาที

9.จุ่มตัวเคลือบโครเม (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)

10.เป่าให้แห้ง ด้วยลมอุ่น (อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส)

11.เคลือบตัวเคลือบชนิดที่เป็นน้ำมัน โดยการปั่นในโม่กลิ้ง (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)

การปรับเติมน้ำยา

การปรับเติมน้ำยาจะต้องอิงปรับเติมตามสัดส่วนของน้ำยาตัว A และ ตัว B เมื่อผสมเริ่มต้น โดยการคำนวณหาปริมาณของตัว A จากการวิเคราะห์น้ำยาโดยการไทเทรต 

       ในระหว่างการทำงาน ควบคุมค่า pH โดยการเติมตัว A และตัว B ตามสัดส่วนเหมือนกับผสมเริ่มต้น หรือถ้าน้ำยาโครเมมีเนื้อโครเมมากพออยู่แล้ว ให้ควบคุมค่า pH โดยใช้กรดซัลฟริก (กรดกำมะถัน) เข้มข้น 50% v/v และน้ำโซดาไฟ (แนะนำให้ใช้โซดาไฟ ไข่มุก) เข้มข้น 30% w/v

       อัตราการปรับเติมในบ่อโครเม

       CHROMATE BLACK 80 PART A – ปรับเติมตามสัดส่วนที่ขาด  จากการวิเคราะห์น้ำยา

       CHROMATE BLACK 80 PART B -  ปรับเติมเป็น 1.3 เท่าของตัว PART A ที่เติม

ข้อแนะนำ

1.เมื่อผสมใหม่ จุ่มแล้วชิ้นงานแดงหรือเหลือบแดงให้เติมโซดาไฟ 30% (ใช้โซดาไฟ 300 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร) เติมลงไปเล็กน้อยอาการนี้จะหมดไป

2.ตอนจุ่มชิ้นงานในซิ้งค์ดำให้นำชิ้นงานจุ่มลงไปในน้ำกลั่นสัก 1 ครั้ง เพื่อล้างคราบโครเมตฟิล์มที่ติดมากับชิ้นงาน

3.ชิ้นงานควรจะมีความหนาจากการชุบซิ้งค์ 5 ไมครอนขึ้นไป หรือประมาณ 40 นาทีในถังกลิ้ง

4.ไม่ควรอบชิ้นงานในเครื่องอบ (เตาอบควรใช้ลมร้อนเป่าหรือใช้พัดลมเป่าให้แห้ง)

5.ห้ามแช่ชิ้นงานในน้ำร้อนหลังจากจุ่มสีดำเสร็จแล้ว

6.ชิ้นงานที่จุ่มดำแล้วจะมีความทนทานต่อการขูดขีดหลังจากเก็บไว้ประมาณ 24 ช.ม.

7.ในกรณีที่เกิดสีเขียวหรือสีน้ำตาลขึ้นบนชิ้นงาน แสดงว่าเวลาจุ่มนั้นสั้นไป ให้จุ่มนานขึ้นอีกสัก 2–5 วินาที แต่อย่านานเกินไปเพราะฟิล์มสีจะลอกเอาผิวซิ้งค์ออกมา